วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1 ความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
ประเภทของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาจนิยามได้ 2 ประเภทคือ          
1.เครือข่ายทางกายภาพ (Physical Networks)
   หมายถึงสายและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย อันได้แก่
Ethernet Wiring ซึ่งมีการเชื่อมต่อได้หลายแบบ เช่น thick coaxial cable (10BASE5) แบบ thin coaxial cable (10BASE2) และแบบ twisted pair (10BASE-T) หรือที่มักเรียกกันว่า UTP

  • สายใยแก้วนำแสง Optical Fiber (FDDI)
  • สายโทรศัพท์ทั้งแบบ Analog และ ISDN
  • สายเคเบิลใต้มหาสมุทร
    ซึ่ง Physical Networks ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่อแบบที่มองไม่เห็นด้วยอีกด้วย เช่น
  • สัญญาณไมโครเวฟ
  • สัญญาณดาวเทียม
  • ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่2. เครือข่ายเชิงตรรก (Logical Networks)เป็นเครือข่ายที่เกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือข่ายทางกายภาพ โดยความสัมพันธ์นั้นหมายถึง การทำงานร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง การมีจุดสนใจร่วมกัน การใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือกิจกรรมใดๆ ที่กำหนดให้มนุษย์มีส่วนร่วม (ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นคอมพิวเตอร์) เช่น
  • Internet
  • SchoolNet
  • GINET (Government Information Networks)
  • UNINET (University Networks)
ชนิดของระบบปฎิบัติการเครือข่าย
ตระกูล dos    ไม่ค่อยดีนัก อาศัยโปรแกรมเสริมประเภท Shell ดักจับการร้องขอแล้วแบ่งเวลาระหว่างประมวลผลการทำงานใหh
- Ms - Net จัดอยู่ในกลุ่ม peer-to-peer resource sharing หรือการใช้ทรัพยากรอย่างเท่าเทียม อาศัย วิธีทำงานอยู่เป็นฉากหลัง (Background Mode )
- Windows for workgrounds ทำให้เครือข่ายภายใต้ระบบปฏิบัติการ Dos เป็นคุณสมบัติที่ต้องรวมอยู่
ในระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ อย่าง Email เกมส์บนเครือข่าย ...
ตระกูล Unix    โครงสร้างออกแบบให้รับงานหลายงานตั้งแต่แรกนับเป็นระบบปฏิบัติการที่ถอดแบบมาจากเครื่องระดับ มินิ หรือ เมนเฟรม เช่น
- Vines คล้าย Os บนมินิคอมมากที่สุด แต่มี Unix เป็นตัวจัดการระดับล่าง ได้แก่ ควบคุมพอร์ท I/O      จัดการระบบดิสค์ เป็นต้น
- Netware มีระบบไฟล์ของตัวเอง แต่ระบบสื่อสารภายในยังเหมือน Unix ใช้งานโปรเซสเซอร์ในโหมf ป้องกัน ( Protect Mode )
- WIndows NT Advance Server เร็วและทรงพลัง ระบบไฟล์ที่มีประสิทธิภาพสูงมีทั้งความสามรถ ในการเป็น Server และ Client อยู่ในตัวเอง


องค์ประกอบของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า
Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน
2. ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น
3. สถานีงาน (Workstation or Terminal) สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host
4 .อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)    4.1 การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้
    4.2 โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
    4.3 ฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ


ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ จัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบเครือข่าย และยังมีหน้าที่ควบคุม การนำโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มาทำงานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสำคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น

 ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งตามลักษณะการเชื่อมต่อทางภูมิศาสตร์ หรือระยะทางการเชื่อมต่อ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ          
1.  ระบบเครือข่ายท้องถิ่น
(Local Area Network : LAN) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระยะใกล้ภายในสำนักงาน หรืออาคารเดียวกัน หรืออาคารที่อยู่ใกล้กันโดยใช้ สายสัญญาณ ได้แก่ สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วนำแสงตัวอย่างเช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย ภายในอาคารหรือบริษัทเดียวกัน ระบบเครือข่ายท้องถิ่น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน ในด้านการใช้ทรัพยากร ของระบบร่วมกัน หรือสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้
2. ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN) หมายถึง การเชื่อมต่อ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีระยะทางการเชื่อมต่อไกลกว่า ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) แต่ระยะทางยังคงใกล้กว่าระบบ WAN (Wide Area Network) ได้แก่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันภายในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน ในเขตเดียวกัน เป็นต้น
3. ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network : WAN) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ระยะไกล เช่น ระหว่างประเทศ การเชื่อมต่อเครือข่ายทั่วโลก เนื่องจากเป็นการติดต่อสื่อสารระยะไกล อัตราการรับส่งข้อมูลจึงต่ำ และมีโอกาสผิดพลาดได้สูง การสื่อสารระยะไกล จำเป็นต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ คือ โมเด็ม ช่วยในการติดต่อสื่อสาร และสามารถนำเครือข่าย LAN มาเชื่อมต่อกัน เป็นเครือข่ายระยะไกลได้ ตัวอย่างของเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเทอร์เน็ต เครือข่ายระบบงานธนาคารทั่วโลก เครือข่ายของสายการบิน เป็นต้น


2. ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์        
   ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup)  แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน   ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น
          การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
          ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
          การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง  

        การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง 
         สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น  
          สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น  
            ความประหยัด          นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้  จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
          ความเชื่อถือได้ของระบบงาน           นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที

3.ความหมายของระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่
เครือข่ายเฉพาะที่  (Local Area Network : LAN)
            เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ที่ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก มักพบเห็นกัน ในองค์กรเดียวกัน
โดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภาย
อาคารเดียวกัน  ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น    ตัวอย่าง การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้

           เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)
            เป็นเครือข่ายขนาดกลาง กลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น
ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน หรือจังหวัดใกล้เคียงกัน เป็นต้น  

           เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wide Area Network : WAN)
            เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่  โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกัน
เป็นเครือข่ายเดียว ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง บางครั้งครอบคลุมไปทั่วประเทศ หรือ
ทั่วโลก อย่างเช่น อินเตอร์เน็ต ก็จัดว่าเป็นเครือข่าย WAN ประเภทหนึ่ง แต่เป็นเครือข่าย
สาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

           

4.ความหมายของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

       อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก
        อินเทอร์เน็ต มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ  พ.ศ.2510 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่าย ต่างก็กลัวขีปนาวุธ ของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้นำสหรัฐอเมริกา วิตกว่า ถ้าหากทางฝ่ายรัฐเซีย ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามา ถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้ จึงได้สั่งให้มีการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชนิดใหม่ขึ้นมา เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยมีจุประสงค์ว่า ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ถูกทำลาย แต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย ในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) ดังนั้นชื่อเครือข่ายในขณะนั้น จึงถูกเรียกว่า ARPANET ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เครือข่ายขยายใหญ่โต เพิ่มมากขึ้น จากการระดม นักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา เพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัย และทางทหารแล้ว ยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ และการพาณิชย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และนำมาใช้ประโยชน์ ในการติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยติดต่อกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุนสนับสนุน แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษา ถึงการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ต เต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ 2 รายคือบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และบริษัท อินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียล แอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด
มาตรฐานการสื่อสารด้านอินเทอร์เน็ต


โปรโตคอล (Protocol) คือตัวกลาง หรือภาษากลาง ที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสาร ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ นับร้อยล้านเครื่องซึ่งแต่ละเครื่องมีความแตกต่างกัน ทั้งรุ่นและขนาดของคอมพิวเตอร์ ถ้าขาดโปรโตคอลก็จะไม่สามารถที่จะติดต่อสื่อสาร ให้เข้าใจกันได้ เพราะฉะนั้นโปรโตคอล ก็เปรียบเหมือนเป็นล่ามที่ใช้แปลภาษา ของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาตรฐานนี้เรียกว่า TCP/IP การทำงานของ TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็คเก็ต (Packet) แล้วส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะกระจายแพ็คเก็ตออกไปหลายเส้นทาง แพ็คเก็ตเหล่านี้ จะไปรวมกันที่ปลายทาง และถูกนำมาประกอบรวมกัน เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้ง
              ระบบไอพีแอดเดรส (IP Address) เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก มีชื่อเรียกว่า ไอพีแอดเดรส ไอพีแอดเดรสจะมีลักษณะเป็นตัวเลข 4 ชุดที่มีจุด ( . ) คั่น เช่น 193.167.15.1 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละชุด จะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 คอมพิวเตอร์ ที่มีไอพีแอดเดรสเป็นของ ตัวเองและใช้เป็นที่เก็บเว็บเพจ เราเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือโฮสต์ (Host) ส่วนองค์กรหรือผู้ควบคุมดูแลและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส เราเรียกว่า อินเทอร์นิก (InterNIC)

5.ความหมายของระบบเครือข่ายร่วมปฎิบัติ


วิวัฒนาการของระบบเครือข่ายได้ผ่านหลายระยะในช่วงเวลา  40  ปีที่ผ่านมา  เริ่มต้นด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เรียกว่า   ดัมพ์เทอร์มินอล  (Dump  Terminal) ”   เข้ากับระบบเมนเฟรม     จนกระทั่งปัจจุบันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย PC เวิร์คสเตชัน, เซิร์ฟเวอร์, เราท์เตอร์,สวิตซ์, อุปกรณ์ต่อพ่วง และอื่น ๆ อีกมาก และผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ จะมีเครื่อง PC  ที่ใช้งาน  ส่วนตัวเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายด้วยกลไกธุรกิจในปัจจุบันผู้ใช้เหล่านี้จำเป็นต้องแชร์ข้อมูลซึ่งกันและกัน   แต่ข้อมูลที่แชร์นั้นต้องการระบบรักษาความปลอดภัย  ด้วยเหตุนี้หลายบริษัทจึงได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า  ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ  NOS  (Network  Operating  System ”  เพื่อทำหน้าที่จัดการเครือข่ายซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย  ในช่วงแรก ๆ นั้นจะมีเพียงบางบริษัทเท่านั้นที่พัฒนา  NOS  อย่างจริงจัง  เช่น  บานยาน  (Banyan),โนเวล(Novell)และIBMเป็นต้น

  NOS   คืออะไร
ระบบปฏิบัติกาNOS คืออะไร ร หรือ OS (Operating System) ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของโปรแกรมที่รันบนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น         ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์มี
หลายชนิด   เช่น  หน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์, จอภาพ, คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์คงจะรันโปรแกรมมากกว่าหนึ่งโปรแกรมไม่ได้ เพราะแต่ละโปรแกรมอาจแย่งใช้ทรัพยากรดังกล่าว  จนอาจทำให้ระบบล่มได้  ระบบเครือข่าย  เช่น  เครื่องพิมพ์  ฮาร์ดดิสก์  เป็นต้น  คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย  จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการทั้งสองประเภท  เพื่อที่จะทำหน้าที่ทั้งจัดการทรัพยากรภายในคอมพิวเตอร์และในระบบเครือข่าย  แต่โดยส่วนใหญ่ระบบ ปฏิบัติการทั้งสองประเภทจะอยู่ในตัวเดียวกัน   เมื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการเสร็จแล้วก็เพียงติดตั้งส่วนที่เป็นเครือข่ายเท่านั้น
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายอาจเป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม   หรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการทั่ว ๆ  ไป   ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิต  ตัวอย่างเช่น   เน็ตแวร์ (NetWare)  ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ของบริษัทโนเวล   เป็นระบบปฏิบัติการที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติมบนเครื่องที่มีระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว  ส่วนระบบปฏิบัติการวินโดวส์  NT/2000/2003, วินโดวส์  95/98/Me  และยูนิกซ์มีระบบปฏิบัติการเครือข่ายอยู่ในตัวอยู่แล้ว   โดยไม่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม
การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่ายอาจมีผลต่อการใช้งานเครือข่ายขององค์กรมาก       ซึ่งอาจมีผลต่อความยากง่ายต่อการใช้งาน         ความยากง่ายต่อการดูแล  และจัดการระบบ
แอพพลิเคชันต่าง ๆ ที่แชร์กันใช้ในระบบโครงสร้างของเครือข่าย   รวมถึงระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล  เป็นต้น  สิ่งที่ควรพิจารณาเปรียบเทียบก่อนที่ตัดสินใจมีดังต่อไปนี้
1.    บริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์  (File  and  Print  Services)
การแชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์ถือได้ว่าเป็นจุดประสงค์หลักของการสร้างระบบเครือข่าย    ดังนั้น ฟังก์ชันนี้จึงเป็นส่วนที่สำคัญของระบบปฏิบัติการเครือข่าย  บริการจัดเก็บฟล์และการพิมพ์ของระบบจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการเครื่องพิมพ์   ความสามารถในการจัดการเกี่ยวกับพื้นที่เก็บไฟล์ที่แชร์ระหว่างผู้ใช้   รวมถึงระบบควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากรเหล่านี้ด้วย
                            2.    บริการดูแลและจัดการระบบ  (Management  Services)
การจัดการเครือข่ายถือเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน  เช่น  การจัดการเกี่ยวกับผู้ใช้  (User  Accounts)  คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย  การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย  การรายงานเกี่ยวกับข้อผิดพลาดต่าง    ที่เกิดขึ้นในเครือข่าย   และการเฝ้าดูระบบเครือข่ายเพื่อทราบถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและสามารถแก้ไขได้ทันเวลา    หรือก่อนที่จะกลายเป็น
ปัญหาใหญ่  ยิ่งเครือข่ายมีขนาดใหญ่ยิ่งจะทำให้หน้าที่ของผู้ดูแลระบบซับซ้อนมากขึ้น  ดังนั้นระบบปฏิบัติการเครือข่ายจำเป็นต้องมีฟังก์ชันที่ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานเหล่านี้  ปัจจุบันระบบปฏิบัติการสมัยใหม่จะใช้ไดเร็คทอรีเข้ามาช่วย  เช่น  เน็ตแวร์ก็จะมี  NDS  Directory  (Novell  Directory  Services  Directory)   หรือถ้าเป็นวินโดวส์  2003  ก็จะมี  ADS  (Active  Directory  Services)   เป็นต้น  เครื่องมือนี้จะช่วยให้การจัดการเครือข่ายง่ายยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่
3.    บริการรักษาความปลอดภัย (Security  Services)
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในเครือข่าย ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน  เนื่องจากถ้าระบบถูกทำลาย  ความเสียหายอาจมากเกินกว่าที่คิดไว้ก็ได้   นอกจากนี้ยังมีข้อมูลบางประเภทที่ต้องการความปลอดภัย  เช่น ข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทหรือองค์กร   การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้จำเป็นที่ต้องจำกัดอยู่เฉพาะผู้ที่มีสิทธิเท่านั้น  ดังนั้นระบบปฏิบัติการเครือข่ายควรมีฟังก์ชันที่สามารถ     แยกแยะผู้ใช้  โดยสามารถกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้หรือกลุ่มของผู้ใช้ได้
4.    บริการอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต  (Internet/Intranet   Services)
ปัจจุบันการให้บริการอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตถือเป็นสิ่งที่สำคัญ   และจำเป็นสำหรับองค์กร  ระบบปฏิบัติการเครือข่ายต้องมีฟังก์ชันที่ให้บริการด้านนี้ด้วย  บริการที่กล่าวนี้คือ  ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ , เว็บเซิร์ฟเวอร์, เมลเซิร์ฟเวอร์, เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์   เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จะช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยเฉพาะการให้บริการเว็บ  เพราะเป็นเทคโนโลยีที่สะดวกต่อการใช้งาน   ฝั่งไคลเอนท์เพียงแค่มีโปรแกรมเว็บบราวเซอร์  เช่น อินเตอร์เน็ตเอ็กซ์พลอุเรอร์ (IE)   หรือเน็ตสเคป  (Netscape)  ก็สามารถใช้งานได้แล้ว  และในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มไปทางอินเตอร์เน็ตมาก  ดังนั้นระบบปฏิบัติการเครือข่ายควรให้บริการด้านนี้ได้ด้วย
 5.   บริการมัลติโพรเซสซิ่งและคลัสเตอริ่ง  (Multiprocessing  and  Clustering  Services)
ประสิทธิภาพในการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์ และความเชื่อถือได้หรือความสามารถในการให้บริการอย่างต่อเนื่องก็เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะกับระบบธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล การที่เซิร์ฟเวอร์หยุดให้บริการเพียงแค่ไม่กี่นาทีก็อาจทำให้ธุรกิจเสียหายอย่างที่คาดไม่ถึงได้เช่นกัน    ประสิทธิภาพในการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์  นั้นจะขึ้นอยู่กับทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์   ความท้าทายของความสามารถในการขยายระบบ (Scalability)        เป็นองค์ประกอบที่
สำคัญของการทำให้ระบบมีความเชื่อถือสูง  (High  Availability) องค์กรต้องสามารถเพิ่มสมรรถนะของแอพพลิเคชัน  หรือทรัพยากรของเครือข่ายเมื่อจำเป็นได้  โดยไม่มีผลทำให้ระบบต้องหยุดชะงัก  การเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบและประสิทธิภาพในการให้บริการสามารถทำได้  2  วิธีคือ  มัลติโพรเซสซิ่ง  (Multiprocessing)  และคลัสเตอริ่ง (Clustering)
-         Multiprocessing  : มัลติโพรเซสเซอร์คือ  ระบบที่มี CPU หรือโพรเซสเซอร์มากกว่าหนึ่งเซิรฟ์เวอร์ที่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเป็นระบบมัลติโพรเซสเซอร์  ซึ่งยิ่งระบบมีโพรเซสเซอร์มากยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแอพพลิเคชันที่รันบนระบบนั้น ๆ 
-         Clustering   :  การทำคลัสเตอริ่ง  คือ  การทำให้เซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ เครื่องทำงานร่วมกันในการให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆ  งาน  เพื่อสำหรับเมื่อเซิร์ฟเวอร์หนึ่งไม่สามารถให้บริการได้   เซิร์ฟเวอร์ที่เหลือก็สามารถให้บริการแทนได้   ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเรียกว่า  เฟลโอเวอร์  ( Failover) ”  นอกจากนี้คลัสเตอริ่งยังทำงานเกี่ยวกับโหลดบาลานซิ่ง  (Load Balancing)    ซึ่งเซอร์เวอร์แต่ละเครื่องในคลัสเตอร์เดียวกันจะตรวจเช็คซึ่งกันและกันตลอดเวลา  ซึ่งเมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งมีประสิทธิภาพลดลง  หรือมีโหลดเยอะเกินไปเซิร์ฟเวอร์ที่มีโหลดน้อยกว่าก็จะแบ่งงานจากเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าว   เช่นกันกับมัลติโพรเซสซิ่งคลัสเตอริ่งต้องรองรับโดยทั้งแอพพลิเคชันและระบบปฏิบัติการด้วย
  Novell  Netware
โนเวลถือได้ว่าเป็นบริษัทแรกที่พัฒนาระบบปฏิบัติการเครือข่าย  หรือ NOS  และปัจจุบันยังคงเป็นบริษัทชั้นแนวหน้าในด้านนี้  ในปี ค.. 1983  โนเวลได้พัฒนาเน็ตแวร์  เพื่อใช้สำหรับการแชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์ผ่านเครือข่าย   ทำให้เน็ตแวร์เป็น NOS  แรกที่รองรับการทำงานบนแพลตฟอร์มหลายประเภท  เช่น  MS-DOS ,  Windows,  MacOS  เป็นต้น  ต่อมาในปี ค..  1994  โนเวลได้เพิ่ม  NDS  (Novell  Directory  Services)  ให้กับเน็ตแวร์และประสบความสำเร็จมาก  เวอร์ชันล่าสุดของ  NDS  เปลี่ยนชื่อมาเป็น อีไดเร็คทอรี  (eDirectory)  ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการเครือข่ายได้อย่างง่าย  เน็ตแวร์เป็น NOS  ที่ให้บริการการ
เข้าใช้ทรัพยากรเครือข่ายอย่างต่อเนื่องและปลอดภัย   เวอร์ชันล่าสุดของเน็ตแวร์คือ  เวอร์ชัน  6.5  ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์,  ใช้เครื่องพิมพ์,  ไดเร็คทอรี่,  อีเมล, ฐานข้อมูล  ระบบจัดเก็บข้อมูลและไคลเอนท์หลายแพลตฟอร์ม
อินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนลักษณะการทำธุรกิจในปัจจุบัน  โนเวลได้เสนอคอนเซปต์ที่เรียกว่า วันเน็ต      (One  Net) ”       หรือเครือข่ายหนึ่งเดียว  เนื่องจากอินเตอร์เน็ตสามารถ
เชื่อมต่อเครือข่ายขององค์กรได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก  หรือผู้ใช้ที่เดินทางเพื่อทำธุรกิจก็สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายขององค์กรเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีได้ โดยผ่านอินเตอร์เน็ต  แนวคิดวันเน็ตคือ   เครือข่ายสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าผู้ใช้จะใช้อุปกรณ์ใด เวลาใด หรือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม  อีไดเร็คทอรีเป็นเทคโนโลยีที่รองรับคอนเซ็ปต์วันเน็ต   กล่าวคือ ผู้ใช้สามารถล็อกอินเข้าระบบได้ไม่ว่าผู้ใช้อยู่ที่ใดในโลก  เน็ตแวร์ถูกออกแบบบนพื้นฐานของโปรโตคอลมาตรฐาน  เช่น  Java, HTTP,  XML,  และ WAP  เพื่อรองรับการเชื่อมต่อที่หลากหลายในโลกที่ซับซ้อนในปัจจุบัน 

6. ประเภทของระบบเครือข่าย

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) 
เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย   ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
เครือข่ายระบบ LAN
2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) 
เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN
เครือข่ายระบบ MAN
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) 
เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม
เครือข่ายระบบ WAN
7. รูปแบบเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์

การเชื่อมต่อเครือข่ายมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ แต่ลักษณะที่นิยมใช้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ลักษณะ ได้แก่
1.แบบดาว (Star Network)
เป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์
ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็ว เมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูง ในการติดตั้งครั้งแรก ลักษณะการเชื่อมต่อ เป็นดังรูป


ข้อดี
ติดตั้งและดูแลง่าย
แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหนดจะขาด โหนดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ
การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด
ข้อเสีย
เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน
การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหนดอื่นๆ ทั้งระบบ
เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง


2.แบบวงแหวน (Ring Network)
         ได้ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่ อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ มันยังคงส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลบข้อมูล ออกจากระบบ ครั้นเมื่อสถานีส่ง TOKEN มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สถานีส่ง TOKEN จะทวนซ้ำข้อมูลเป็นครั้งที่สอง ถ้ายังคงไม่ได้รับคำตอบ จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้ระบบหยุดชะงักการทำงานลงของระบบ เนื่องจากสถานีหนึ่งเกิดการเสียหาย หรือชำรุด ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้ ลักษณะการเชื่อมต่อ เป็นดังรูป
ข้อดี
ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
หากโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก

3.แบบบัส (Bus Network)
        เป็นลักษณะของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่าย ด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ โดยมีคอนเน็คเตอร์ในการเชื่อมต่อ โดยลักษณะของการส่งหรือรับข้อมูล จะเป็นการส่งข้อมูล ทีละเครื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เท่านั้นจากนั้นเครื่องปลายทาง ก็จะส่งสัญญาณข้อมูลกลับมา และในการเชื่อมต่อในระบบ Bus นี้จะต้องมี T-Connector ที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ และมี Terminator เป็นอุปกรณ์ปิดปลายสายสัญญาณ ของทั้ง
ระบบ ซึ่ง Terminaltor จะคอยเป็นตัวดูดซับสัญญาณไม่ให้มีการไหลกับไป กวนกับระบบสัญญาณอื่นในสาย ซึ่งโดยทั่วไป จะมีค่าความต้านทานประมาณ
50 โอห์ม บางครั้งถ้าไม่มี Terminator เราสามารถให้ตัว R ทั่วไปที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ขนาด 50 โอห์มแทนได้เหมือนกัน ลักษณะการเชื่อมต่อก็จะเป็นดังรูป



ข้อดี
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก
สามารถขยายระบบได้ง่าย
เสียค่าใช้จ่ายน้อย
ข้อเสีย
อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ดต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยากเนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
4.แบบผสม (Hybrid Network)
     เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่างๆ หลายๆ แบบเข้าด้วยกัน คือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย หลายๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้างเป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกัน มากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่ายเล็ก-ใหญ่ หลากหลายแบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัด หรือ อาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้
                                        
การเข้าถึงระยะไกล   
คุณสมบัติเด่นอย่างหนึ่งของเครือข่ายแบบผสมก็คือ ผู้ใช้สามารถเชื่อม ต่อกับเครือข่ายจากระยะไกลเช่น อยู่ที่บ้าน หรืออยู่ภาคสนามได้
ในการ เชื่อมต่อก็จะได้คอมพิวเตอร์สั่งโมเด็มหมุนสัญญาณให้วิ่งผ่านสาย โทรศัพท์ไปเชื่อมต่อกับเครือข่ายหลังจากการเชื่อมต่อผู้ใช้สามารถเข้าไป
เรียกใช้ข้อมูลได้สมือนกับว่ากำลังใช้เครือข่ายที่บริษัท

การบริหารเครือข่าย
เนื่องจากเครือข่ายผสมเป็นการผสมผสานเครือข่ายหลายแบบเข้าด้วย กัน ซึ่งแต่ละเครือข่ายก็มีรายละเอียดทางเทคนิคแตกต่างกันไป
ดังนั้น การบริหารเครือข่ายก็อาจจะยากกว่าเครือข่ายแบบอื่น ๆด้วยเหตุนี้ บริษัทที่มีเครือข่ายผสมขนาดใหญ่ของตัวเองก็มักจะตั้งแผนก
ที่ทำหน้าที่ดูแลและบริหารเครือข่ายนี้โดยเฉพาะ

ค่าใช้จ่าย
โดยปกติเครือข่ายแบบผสมจะมีราคาแพงกว่าเครือข่ายแบบต่างๆ เพราะ เครือข่ายแบบนี้เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ และมีความซับซ้อนสูง
นอกจาก นี้ยังต้องมีการลงทุนเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยมากกว่า เครือข่ายอื่นอีกด้วย เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อระยะไกล